วิกฤต!!แปลงพืชอาหารช้าง –กระทิง กุยบุรี 2 พันไร่เจอแล้งหนัก
วิกฤต!!แปลงพืชอาหารช้าง –กระทิง กุยบุรี 2 พันไร่เจอแล้งหนัก
ประจวบโพสต์ -ฝนที่ทิ้งช่วงนานถึง 2 เดือนเต็มได้ส่งผลกระทบต่อแปลงหญ้า 2 พันไร่ ซึ่งปลูกไว้เพื่อเป็นพืชอาหารช้างและ กระทิง ปัจจุบันสภาพแปลงหญ้าที่เคยเขียวขจีกลับมีสภาพแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล และยังส่งผลให้สัตว์ป่า ออกมาจำนวนน้อย รวมทั้งบ่อน้ำ และกระทะน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่ซึ่งก็เริ่มแห้งลง ล่าสุดอุทยานฯกุยบุรี เตรียมร่วมกับฝ่ายปกครองอำเภอกุยบุรี กลุ่มอนุรักษ์ และภาคเอกชน จะระดมรดน้ำน้ำมาพ่นน้ำในแปลงหญ้าเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในวันช้างไทยที่จะถึงนี้
วันที่ 9 มีนาคม 2563 นายสินาทร โอ่เอี่ยม นายอำเภอกุยบุรี พร้อมด้วย นายรักพงษ์ บุญย่อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และนายศรีสวัสดิ์ บุญมา กำนันตำบลหาดขาม ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ พาคณะสื่อมวลชนเข้าดูสภาพแปลงหญ้ากว่า 1,900 ไร่บริเวณจุดต่างๆที่ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ป่าทั้งช้างและกระทิง ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณจุดชมวิวชมช้างป่าและกระทิง รวมทั้งโป่งสลัดได และพุยายสายตลอดจนจุดอื่นๆในพื้นที่ของจุดชมสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปลูกไว้รวมแล้วถึง 2,000 ไร่ ในปัจจุบันนี้สภาพแปลงหญ้าแห้งมีสีน้ำตาลเห็นได้อย่างชัดเจน จากเดิมที่เคยเขียวขจี มีสัตว์ป่าทั้งช้างป่า กระทิง วัวแดง จำนวนมากลงมากินหญ้าที่ปลูกไว้ตามจุดต่างๆ ทุกวัน
แต่หลังจากฝนทิ้งช่วงมานานกว่า 2 เดือน จึงส่งผลกระทบต่อแปลงพืชอาหารสัตว์ป่า นอกจากนั้นบริเวณบ่อน้ำขนาดใหญ่ขนาดเล็ก ที่ขุดกักเก็บน้ำไว้สำหรับสัตว์ป่าในพื้นที่ 15 บ่อ กระจายตามจุดต่างๆ พบว่าระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในลำห้วยไม่มีน้ำไหลลงมาเติม ในขณะที่กระทะน้ำจำนวน 43 จุด ซึ่งทำไว้เพื่อเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กให้สัตว์ป่าลงมากิน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ต้องใช้รถบรรทุกน้ำมาหมุนเวียนเติมอย่างต่อเนื่องวันละประมาณ 3-4 เที่ยวมานานถึง 2 เดือนแล้วเช่นกัน
เบื้องต้นนายสินาทร โอ่เอี่ยม นายอำเภอกุยบุรี และ นายรักพงษ์ บุญย่อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และกำนันตำบลหาดขาม ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มอนุรักษ์ มีความเป็นห่วงถึงสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและเกิดผลกระทบกับแปลงพืชอาหารสัตว์ป่า เบื้องต้นในส่วนของ กระทะน้ำจำนวน 43 จุด ซึ่งทำไว้เพื่อเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กให้สัตว์ป่าลงมากินซึ่งก็แห้งเช่นกัน
โดยทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี แก้ไขโดยใช้รถบรรทุกน้ำของทางอุทยานฯที่มีอยู่เพียงคันเดียว บรรทุกน้ำมาเติมลงในกระทะน้ำจำนวน 43 จุด อย่างต่อเนื่องทุกวันวันละประมาณ 3-4 เที่ยวมานานถึง 2 เดือนแล้ว เพื่อเป็นการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญขณะนี้หากภายใน 1 -2 เดือน หากยังไม่มีฝนตกลงมาคาดว่าสภาพน้ำในบ่อน้ำอาจจะแห้งลงได้
ในขณะเดียวกันยังได้วางแผนน่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยจะทำรางระบายน้ำเปรียบเสมือนตีนตุ๊กแก เนื่องจากบางจุดของกระทะน้ำที่อยู่ในแปลงหญ้าตามจุดต่างๆจะมีระบบสูบน้ำบาดาลขึ้นมาเติมเองโดยใช้พลังงานโซล่าเซลล์ เมื่อเวลาปั้มน้ำขึ้นมาใส่กระทะน้ำเมื่อเต็มปั้มก็จะหยุดแต่หากเราทำตีนตุ๊กแก จากกระทะน้ำให้ไหลลงสู่แปลงหญ้าในบางจุดได้ก็จะเป็นการทำให้หญ้าในจุดดังกล่าวให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นมาได้บ้างก็จะทำให้ช้างและกระทิง วัวแดง มากินประทังได้ในช่วงเกิดฝนทิ้งช่วง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำคัญคือ”ต้องเฝ้าระวังอย่างให้เกิดไฟป่าโดยเด็ดขาด”
โดยในวันที่ 13 มีนาคม 2563 ทางอุทยานแห่งชากุยบุรี และอำเภอกุยบุรี พร้อมภาคเอกชนและกลุ่มอนุรักษ์ จะมีการระดมรถน้ำให้ได้ 6-8 คันบรรทุกน้ำมาพ่นน้ำในแปลงหญ้าบางส่วนให้เกิดความชุ่มชื้นด้วยในเบื้องต้น
ด้านนายรักพงษ์ บุญย่อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวอีกว่าจากฝนทิ้งช่วงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จุดชมสัตว์ป่าส่งผลให้ช้างป่า และกระทิง ที่เคยออกหากินในบริเวณแปลงหญ้าและจุดต่างๆ ทุกวันๆ ละประมาณ 10-30 ตัว ตอนนี้บางวันลดเหลงเหลือเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นบางวันเจอเพียง 1-5 ตัวและออกมาไม่นานก็กลับหายเข้าไปในป่าเนื่องจากสภาพแปลงหญ้ามีความแห้งแล้ง ส่วนนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติ และชาวไทย ที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวก็ลดลงเนื่องจากมาแล้วไม่เจอสัตว์ป่า รวมทั้งผลกระทบจากไวรัสโควิด -19 ด้วย
อย่าลืม!!!
ติดตามข่าวสารจาก Face book : Prachuppost Newspaper
?กดติดดาว ⭐️ เพจ …จะได้ไม่พลาดโพสต์ของเรา…ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/prachuappost/
https://www.facebook.com/prachuppost/
***กดเข้ากลุ่ม ???? กับ ประจวบโพสต์นิวส์ ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/groups/387550115078888/
…………………………………………………………………………
ติดตาม #ประจวบโพสต์นิวส์ #Prachuppostnews ได้ใน
Website: http://www.prachuppostnews.com/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCXnxGL0eeJZsm6vNRqaSUVA…
Twitter: https://twitter.com/prachuppostnews
IG : www.instagram.com/ prachuppostnews