ชาวอำเภอปราณบุรี จัดสืบสานประเพณีเก่าแก่ “ส่งเคราะห์ทางทะเล”
ชาวอำเภอปราณบุรี จัดสืบสานประเพณีเก่าแก่ “ส่งเคราะห์ทางทะเล”
ชาวอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดงานสืบสานประเพณีเก่าแก่ “ส่งเคราะห์ทางทะเล” ตักบาตรทำบุญ นำข้าวปลาอาหาร ตุ๊กตาดินเหนี่ยวตกแต่งผ้าสีสันต์สวยงาม ใส่ในเรือปล่อยลอยทะเล เป็นการเซ่นไหว้ผีและเจ้ากรรมนายเวรเป็นการขอขมา และเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ที่ลานหน้าสำนักงานสมาคมประมงปราณบุรี ม.2 ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายธงชัย สุณาพันธ์ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำปราณ คณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างเทศบาล ร่วมกับ ชาวประมงปากน้ำปราณและประชาชน ร่วมกิจกรรม จัดประเพณี “ส่งเคราะห์ทางทะเล” ทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ ซึ่งเป็นงานประเพณีเก่าแก่ของชาวอำเภอปราณบุรี ที่จัดขึ้นประจำทุกปี
สำหรับตำบลปากน้ำปราณจะจัดประเพณีทำบุญส่งเรือเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลายาวนาน ตามความเชื่อว่าเป็นการเซ่นไหว้ผีและเจ้ากรรมนายเวรเป็นการขอขมา แม่น้ำที่ใช้ในการเดินทาง ใช้เป็นการประกอบอาชีพและเป็นแหล่งอาหาร สูงจะทำให้ความเป็นอยู่และ การทำมาหากินมีความเจริญรุ่งเรือง การจับปลาหรือสัตว์นาได้มากขึ้น และเป็นการสะเดาะเคราะห์เอาทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งไม่ดีทั้งหลายปล่อยไปกับแม่นา เพื่อที่จะได้มีสิ่งที่ดีในชีวิต มีโชคลาภ
นายธงชัย สุณาพันธ์ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำปราณ กล่าวว่า การจัดงานแต่ละปีขึ้นอยู่กับความสะดวกของชาวบ้านในชุมชน ไม่ได้ยึดติดกับวัน การจัดงานจะมีชาวบ้าน นำอาหารคาว อาหารหวาน ดอกไม้รูป เทียน ตุ๊กตาดินเหนียวนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีสันต์สวยงาม และเงิน นำไปใส่ลงในเรือจำลองที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งก่อนจะทำการนำเรือไปลอยในทะเลชาวบ้านจะมีการทำบุญตักบาตร พระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล ขับไล่สิ่งอัปมงคล สิ่งเลวร้ายซึ่งก่อนจะเคลื่อนเรือออกไปจะมีการจุดประทัด แล้วจึงนำปล่อยเรือให้ปล่อยล่องลอยไปในทะเล เพื่อนำเอาความทุกข์ โศกเคราะห์ร้ายต่างๆออกไปกับทะเล
สำหรับเรือจะทำด้วยเป็นโครงไม้ไผ่และผ้าสีขาวมาทำเป็นเรือลำเล็กสำหรับใส่สิ่งของต่างๆ เพื่อนำไปปล่อยในทะเล บางแห่งทำด้วยต้นกล้วยและกระดาษแก้วมาประกอบให้เหมือนเรือและตกแต่งให้สวยงาม
วันงานในตอนเช้าชาวบ้านจะนำอาหารไปทำบุญตักบาตร โดยนำดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวปลาอาหาร ทั้งของคาว ของหวาน ของแห้ง น้ำ และเงิน ใส่ลงในเรือ หลังจากที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการอธิษฐานให้แก่ ดวงวิญญาณของผีบรรพบุรุษ ให้มากินอาหารให้กินอิ่มหนำสำราญ แล้วเอาโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่ไม่ดีออกไป บางแห่งมีการเขียนรายชื่อญาติที่ล่วงลับไปแล้วใส่ลงในเรือ บางแห่งเขียนรายชื่อญาติแล้วเผาเป็นการอุทิศส่วนกุศล
ความเชื่อในประเพณีปล่อยเรือนั้น เชื่อกันว่าเป็นการเซ่นไหว้ผีและเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ให้กินอิ่มหนำสำราญ ไม่มารบกวนชาวบ้าน เป็นการขอขมาแม่น้ำที่ชาวบ้านได้ใช้ในการเดินทาง ใช้เป็นแหล่งอาหารและ แหล่งอาชีพ ซึ่งจะทำให้ทำมาหากินเจริญ จับปลาหรือสัตว์น้ำได้มากขึ้น และเป็นการสะเดาะเคราะห์เอาทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายปล่อยไปกับแม่น้ำ เพื่อที่จะได้มีสิ่งที่ดีในชีวิต มีโชคลาภ
สำหรับความเชื่อ ของชาวบ้าน 1.เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เป็นความกตัญญูกตเวที ซึ่งหลักพุทธศาสนาสอนว่า เมื่อตายไปแล้วให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ 2.การขอขมาแม่น้ำ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ แม่น้ำ ลำคลอง เพื่อดูแลรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ ใช้เป็นแหล่งอาหารและแหล่งอาชีพ 3. ความเชื่อในโชคลางว่าเอาโรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์โศก สิ่งที่ไม่ดี ปล่อยไปกับสายน้ำ และการ แก้บน เป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ ช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้น เป็นสุขขึ้น
เรื่อง/ภาพ สมบัติ ลิมปจีระวงษ์
ประจวบโพสต์นิวส์ / Prachuppostnews