เก็บกู้ทุ่นตาข่าย” ป้องกันฉลาม”ช่วงมรสุมและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

ติดตามข่าว ประจวบโพสต์
  • 21
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
    21
    Shares

 เก็บกู้ทุ่นตาข่าย” ป้องกันฉลาม”ช่วงมรสุมและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

                  บริษัทผู้รับจ้างวางทุ่นตาข่ายป้องกันฉลามที่หาดทรายน้อย เขาเต่า นำเรือพร้อมกำลังคนมาเก็บกู้ทุ่นตาข่ายที่ลอยอยู่ในทะเลเนื่องจากถูกคลื่นลมในช่วงมรสุมพัดหลุดขึ้นไปทำความสะอาด และซ่อมแซม และจะนำมาวางใหม่อีกครั้งหลังผ่านพ้นช่วงมรสุม พร้อมกันนี้จะต้องปรับแผนการวางตัวถ่วงไต้น้ำให้มีนำหนักมากขึ้น ในระหว่างนี้จะมีการจัดเจ้าหน้าที่มาดูแลนักท่องเที่ยวและติดป้ายประกาศเตือน

ความคืบหน้ากรณีทุ่นตาข่ายป้องกันฉลาม ซึ่งติดตั้งอยู่ที่หาดทรายน้อย หมู่บ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ประมาณ 3 เดือนที่ผ่าน หลุดจากจุดเดิมที่ถูกติดตั้ง คือเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปตามแนวชายหาด ระยะ 200 เมตร ห่างฝั่ง 80 เมตร ลึกลงไปในทะเลประมาณ 10 เมตร   ถูกคลื่นซัดลอยอยู่ชายฝั่ง และบางส่วยลอยเข้ามาเกยหาด เนื่องจากถูกคลื่นลมในทะเลช่วงมรสุมซัดเข้ามา ซึ่งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในพื้นที่อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาดำเนินการแก้ไข เนื่องจากเกรงจะเป็นอันตรายต่อการลงเล่นน้ำทะเล อวัยวะอาจจะเข้าไปพันกับตาข่ายได้ โดยในเบื้องต้นเทศบาลเมืองหัวหิน ได้แจ้งให้ผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการแก้ไข เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาประกัน

ล่าสุดวันนี้ นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 เพชรบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่หาดทรายน้อย เพื่อติดตามการเก็บกู้ทุ่นตาข่าย ของบริษัทผู้รับจ้าง ซึ่งได้เข้าดำเนินการแก้ไข โดยนำเรือพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ เข้ามาเก็บกู้ทุ่นตาข่ายขึ้นมาเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเป็นช่วงมรสุมที่มีคลื่นลมแรง เสี่ยงต่อการหลุดเสียหาย รวมทั้งทำการเก็บกู้ขึ้นมาทำความสะอาด สำรวจความเสียหายของทุ่นตาข่าย และซ่อมแซม ก่อนจะนำทุ่นตาข่ายนี้มาวาง ณ จุดเดิมอีกครั้ง หลังผ่านพ้นช่วงมรสุม

โดยการเก็บกู้ทุ่นตาข่ายครั้งนี้ ใช้วิธี ชักรอกทุ่นตาข่ายจากในน้ำทะเลขึ้นเรือ ซึ่งวิธีนี้จะทำทุ่นตาข่ายเสียหายน้อยที่สุด และง่ายกว่าการดึงทุ่นขึ้นไปบนชายหาด เนื่องจากทุ่นและตาข่ายถ่วงน้ำอยู่ทำให้มีน้ำหนักมาก รวมทั้งหากใช้วิธีดึงทุ่นตาข่ายขึ้นบนชายหาดจะต้องมีการตัดตาข่ายเป็นจุดๆ ซึ่งจะเสียหายมากกว่า สำหรับการเก็บกู้ในวันนี้ใช้เวลาค่อนนานกว่า 3 ชั่วโมง เนื่องจากคลื่นลมค่อนข้างแรง เป็นอุปสรรคสำคัญในการดำน้ำลงไปปลดตาข่ายบางส่วนที่ยังติดอยู่กับฐานถ่วงไต้น้ำทะเล

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 เพชรบุรี กล่าวว่า การเก็บกู้ทุ่นตาข่ายขึ้นมาจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญจะต้องรู้จุดการวางตัวถ่วงไต้น้ำ และการจัดเก็บทุ่นตาข่ายที่ถูกวิธีจะทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ทั้งนี้ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ทราบว่าทุ่นตายข่ายได้รับความเสียหายจากคลื่นลมมรสุมเล็กน้อยประมาณ 30 – 40 % เมื่อเก็บกู้ขึ้นมาเสร็จแล้วจะต้องไปปรับแก้ และซ่อมแซมตาข่ายที่เสียหาย และนำมาติดตั้งใหม่หลังผ่านพ้นช่วงฤดูมรสุม

ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทั้งนี้ยอมรับว่าจะต้องมีการหารือร่วมกับเทศบาลเมืองหัวหิน เพื่อปรับแบบตัวถ่วงฐานไต้น้ำจากเดิมที่เป็นปูนหล่อในล้อยางให้เป็นแท่งปูนลูกเต๋าน้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัมแทนเพื่อให้แท่งปูนจมลงในพื้นทรายไต้น้ำยึดตาข่ายได้ดีกว่า ทนต่อสภาพคลื่นมรสุมได้ดีกว่า เพื่อไม่ให้ตาข่ายร่นขึ้นมาเข้าชายหาดอีก พร้อมกันนี้จะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเทศบาลเมืองหัวหิน ,กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ในการจัดเจ้าหน้าที่มาดูแลนักท่องเที่ยวที่จะลงเล่นน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากฉลาม รวมทั้งทางเทศบาลเมืองหัวหินจะต้องติดป้ายประกาศเตือนนักท่องเที่ยวด้วย

ประจวบโพสต์นิงส์/Prachuppostnews

  • 21
    Shares