สำรวจปะการังเกาะทะลุ เกาะสิงห์ และเกาะสังข์ “ฟอกขาวและเสื่อมโทรม”

ติดตามข่าว ประจวบโพสต์
  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
    3
    Shares

สำรวจปะการังเกาะทะลุ เกาะสิงห์ และเกาะสังข์ “ฟอกขาวและเสื่อมโทรม”

นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดชุมพร และมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยามฯลฯ   ลงสำรวจแนวปะการังเกาะทะลุ  เกาะสิงห์ และเกาะสังข์   แหล่งดำน้ำชมปะการัง ของทะเลอ่าวไทยตอนกลาง พบปะการังฟอกขาว ทั้งปะการังเขากวางปะการังดอกไม้ทะเล   และพบว่าปะการังเกาะสิงห์ มีความเสื่อมโทรมเริ่มตายหลังมีสาหร่ายปกคลุม  เจ้าหน้าที่ทีมสำรวจลงความเห็นว่าควรที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)  ควรประกาศงดกิจกรรมดำน้ำที่เกาะสิงห์ และประกาศใช้มาตรการคุ้มครองเช่นเดียวกับเกาะทะลุ เพื่อหาแนวทางฟื้นฟูต่อไป

วันที่ 21 มิถุนายน 2561   บริเวณเกาะทะลุ  เกาะสิงห์ และเกาะสังข์ ต.ทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของทะเลอ่าวไทยตอนกลาง ซึ่งพื้นที่บางส่วนกำลังอยู่ในขั้นตอนที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการประกาศได้ภายในปีนี้ นายวัฒนาพร พรประเสริฐ   ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เพชรบุรี,นายชัยณรงค์ เรือนทอง หน.ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 ชุมพร (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช) นายภาณุวัฒน์ ดำภูผา นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 ชุมพร นายภัทร อินทร์ไพโรจน์  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม และนายเผ่าพิพัธ เจริญพักตร์ เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม พร้อมด้วยเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พร้อมเจ้าหน้าที่กว่า 20 นาย  และพนักงานรีสอร์ทเกาะทะลุ ไฮแลนด์ รีสอร์ท   ได้ร่วมกันวางแผนดำน้ำสำรวจสถานภาพของปะการังทั้ง 3 เกาะ    เพื่อเป็นฐานข้อมูลปัจจุบันก่อนที่จะมีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม  เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของอ่าวไทย

โดยจุดแรก เจ้าหน้าที่ได้ลงดำน้ำสำรวจแนวปะการังบริเวณเกาะสิงห์ เนื่องจากมีข้อมูลว่าปัจจุบันแนวปะการังที่เคยสวยงามได้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างหนัก ซึ่งเกิดจากการใช้ประโยชนจากการท่องเที่ยวและกิจกรรมอื่นๆ  เจ้าหน้าที่ลงสำรวจพบว่าแนวปะการังบริเวณดังกล่าว   พบว่ามีสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนัก มีการเข้ามาปกคลุมของสาหร่าย รวมทั้งยังมีตะกอนที่ถูกกระแสน้ำพัดเข้าปกคลุมแนวปะการังบริเวณเกาะสิงห์ ทำให้ปะการังส่วนหนึ่งตาย

ส่วนในจุดที่ 2 เจ้าหน้าที่ได้ลงดำสำรวจบริเวณแนวปะการัง ด้านปลายหางของเกาะทะลุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พบว่าแนวปะการังดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่ บริเวณดังกล่าวพบว่าเกิดการฟอกขาวเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นพื้นที่บริเวณกว้างอย่างหนัก  บางส่วนเริ่มตายก็มีแล้ว  นอกจากนั้นยังพบว่าจุดนี้มีการทิ้งสมอเรือลงในแนวปะการังดอกไม้ทะเล  จนทำให้ปะการังดอกไม้ทะเลได้รับความเสียหายหลายจุดด้วยกัน

อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังลงสำรวจแนวปะการังบริเวณเกาะทะลุ   ก็พบว่าพบว่าปะรังเขากวางที่มีความสวยงามซึ่งปกติมีสีน้ำตาล แต่ขณะนี้พบว่าแต่ละจุดกลายเป็นสีขาวเช่นกัน  ในส่วนของกลุ่มปะการังเขากวางจะไวต่อการเกิดการฟอกขาวมากกว่าปะการังชนิดอื่นๆ

สำหรับในจุดสุดท้ายที่เกาะสังข์เจ้าหน้าที่ชุดสำรวจ ยังพบว่าสภาพของแนวปะการังโดยรวมของเกาะสังข์สภาพแนวปะการัง ยังถือว่ายังไมได้รับผลกระทบและยังมีความสมบูรณ์ในระดับปานกลาง โดยเจ้าหน้าที่กล่าวว่าได้สถานภาพทั้งในส่วนของปะการังที่เกิดการฟอกขาว เกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งอุณหภูมิของน้ำที่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้มาติดตามวัดค่านำพบว่ามีอุณหภูมิน้ำสูงอยู่ที่ 32 องศา  และ

             ในช่วงปี 2553 จากข้อมูลย้อนหลัง การสำรวจสถานภาพของแนวปะการังที่เกาะทะลุ ก็พบว่าเคยเกิดฟอกขาวมาแล้ว  รวมทั้งเมื่อปี 2559 ได้เกิดวิกฤติปะการังฟอกขาวใน 7 พื้นที่ ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รวมทั้งเกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทำให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)ได้มีการประกาศใช้มาตรา 13 ข้อ  โดยข้อสำคัญคือห้ามจอดเรือโดยทิ้งสมอเรือบริเวณแนวปะการัง ห้ามบุคคล หรือผู้ประกอบการกิจการท่องเที่ยวดำน้ำตื้นจะต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง  ห้ามการกระทำใดที่ก่อให้เกิดตะกอนลงสู่แนวปะการัง ฯลฯ

ซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามความในมาตรา 227 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558(12.) เพื่อระงับความเสียหายต่อแนวปะการังใน 7 พื้นที่รวมทั้งเกาะทะลุด้วย จนทุกวันนี้อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวยังคงใช้อยู่ แต่สำหรับในส่วนของเกาะสิงห์นั้นไม่ได้มีการประกาศแต่อย่างใด

                    อย่างไรก็ตาม ซึ่งผลกระทบจากการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั้งบริเวณในส่วนของปลายหางของเกาะทะลุ ในครั้งนี้รวมทั้งบริเวณแนวปะการังเกาะสิงห์ซึ่งมีสภาพความเสื่อโทรมอย่างหนักถุง 80 เปอร์เซ็นต์    อาจส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล

ภายหลังเสร็จสิ้นการสำรวจสถานภาพแนวปะการังทั้ง 3 เกาะแล้วนายวัฒนา พรประเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เพชรบุรี รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ จากศูนย์ปฏิบัติการทางทะเลที่ 1 จ.ชุมพร เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยามและเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม  ,เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล    ได้สรุปเห็นตรงกันว่าในส่วนของเกาะสิงห์ นั้นพบว่ามีความเสื่อมโทรมอย่างหนักถึง 80 เปอร์เซ็นต์     ดังนั้นทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)   ควรประกาศใช้มาตรการคุ้มครองเช่นเดียวกันกับเกาะทะลุ   และเห็นควรงดกิจกรรมดำน้ำในพื้นที่เกาะสิงห์ด้วย เพื่อให้แนวปะการังได้รับการฟื้นฟูจากทั้งธรรมชาติ และหน่วยงานเกี่ยวข้องควรหาแนวทางในการที่จะฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณดังกล่าวต่อไป

ประจวบโพสต์นิวส์/prachuppostnews

  • 3
    Shares